วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

ทดสอบปลายภาค

ให้นักศึกษาอ่านบทความต่อไปนี้ วิเคราะห์แสดงความคิดเห็น
1.แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า  ใช้ Keywordว่า     "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน
              จากบทความเกี่ยวกับเรื่อง
"แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา" จำนวน  3 บทความ "แท็บเล็ต " ในความหมายแท้จริงแล้วก็คือแผ่นจารึกที่เอาไว้บันทึกข้อความต่างๆโดยการเขียน (อาจจะเป็นกระดาษ, ดิน, ขี้ผื้ง, ไม้, หินชนวน) และมีการใช้กันมานานแล้วในอดีต  แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ที่ใช้แนวคิดนี้ขึ้นมาแทนที่ซึ่งมีหลายบริษัทได้ให้คำนิยามที่แตกต่างกันไป หลักๆแล้วก็มี 2 ความหมายด้วยกันคือ "แท็บเล็ต พีซี -Tablet PC (Tablet Personal Computer)" และ "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ (Tablet Computer)" หรือเรียกสั้นๆว่า "แท็บเล็ต (Tablet)"       
"แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet personal computer)" คือ "เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถพกพาได้และใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก ออกแบบให้สามารถทำงานได้ด้วยตัวมันเอง" ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากหลังจากทาง Microsoft ได้ทำการเปิดตัว Microsoft Tablet PC ในปี 2001 แต่หลังจากนั้นก็เงียบหายไปและไม่เป็นที่นิยมมากนัก "แท็บเล็ต พีซี ( Tablet PC)" ไม่เหมือนกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือ Laptops ตรงที่อาจจะไม่มีแป้นพิมพ์ในการใช้งาน แต่อาจจะใช้แป้นพิมพ์เสมือนจริงในการใช้งานแทน (มีแป้นพิมพ์ปรากฎบนหน้าจอใช้การสัมผัสในการพิมพ์) "แท็บเล็ต พีซี (Tablet PC)" ทุกเครื่องจะมีอุปกรณ์ไร้สายสำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและระบบเครือข่ายภายใน
"แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ (Tablet Computer)" หรือเรียกสั้นๆว่า "แท็บเล็ต ( Tablet)" คือ "เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ขนาดกลางและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบ convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุนหรือแบบสไลด์ก็ตาม" ซึ่งทางบริษัท Apple ผู้ผลิต "ไอแพด (iPad)" ได้เรียกอุปกรณ์ของตัวเองว่าเป็น "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ (Tablet Computer)" เครื่องแรก

จากการศึกษาวิเคราะห์ในเชิงประวัติศาสตร์และหลักฐานต่างๆที่ค้นพบของการใช้เทคโนโลยีประเภทแท็บเล็ต (Tablet) นั้นมีข้อสันนิฐานและกล่าวกันว่าแท็บเล็ตในยุคประวัติศาสตร์ได้เริ่มต้นจากการที่มนุษย์ได้คิดค้นเครื่องมือสำหรับการพิมพ์หรือบันทึกข้อมูลจากแผ่นเยื่อไม้ที่เคลือบด้วย (Wax)บนแผ่นไม้ในลักษณะของการเคลือบประกบกันทั้ง 2 ด้าน ใช้ประโยชน์ในการบันทึกอักขระข้อมูลหรือการพิมพ์ภาพ  ซึ่งปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนจากบันทึกของซิเซโร่ (Cicero) ชาวโรมัน  เกี่ยวกับลักษณะของการใช้เทคนิคดังกล่าวนี้จะมีชื่อเรียกว่า “ Cerae” ที่ใช้ในการพิมพ์ภาพบนฝาผนังที่วินโดแลนดา (Vindolada) บนฝาผนังที่ชื่อผนังฮาเดรียน (Hadrian’ Wall)
หลักฐานชิ้นอื่นๆที่ปรากฏจากการใช้แท็บเล็ตยุคโบราณที่เรียกว่า Wax  Tablet   ปรากฏในงานเขียนบทกวีของชาวกรีก  ชื่อโฮเมอร์  (Homer)  ซึ่งเป็นบทกวีที่ถูกนำไปอ้างอิงไว้ในนิยายปรัมปราของชาวกรีกที่ชื่อว่า  Bellerophon  โดยแสดงให้เห็นจากการเขียนอักษรกรีกโบราณจากการใช้เครื่องมือดังกล่าว
นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่บ่งบอกถึงแนวคิดการใช้เทคโนโลยีแท็บเล็ตโบราณในลักษณะของการบันทึกเนื้อหาลงในวัสดุอุปกรณ์ในยุคประวัติศาสตร์คือ  ภาพแผ่นหินแกะสลักลายนูนต่ำที่ขุดค้นพบในดินแดนแถบตะวันออกกลางที่อยู่ระหว่างรอยต่อของซีเรียและปาเลสไตน์  เป็นหลักฐานสำคัญที่สันนิษฐานว่าจะมีอายุราวก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 640 – 615  ทั้งนี้บริเวณที่ขุดค้นพบจะอยู่แถบตะวันตกเฉียงใต้ของพระราชวังโบราณที่ Nineveh  ของ  lraq  นอกจากนี้ยังได้พบอุปกรณ์ของการเขียน  Wax  Tablet  โบราณของชาวโรมันที่เป็นลักษณะคล้ายแท่งปากกาที่ทำจากงาช้าง  ซึ่งหลักฐานที่ปรากฏเหล่านี้ต่างเป็นสิ่งที่ยืนยันถึงวิวัฒนาการและแนวคิดการบันทึกข้อมูลในลักษณะของการใช้  Tablet ในปัจจุบัน
สำหรับหลักฐานการใช้ Wax Tablet  ยุคต่อมาช่วงกลางที่พบคือ  การบันทึกเป็นหนังสือโดยบาทหลวง  Tournai  (ค.ศ.  1095 - 1147)  ชาวออสเตรีย  เป็นการบันทึกบนแผ่นไม้ 10 แผ่น ขนาด 375x207 mm.  อธิบายเกี่ยวกับสภาพการถูกกดขี่ของทาสในยุคขุนนางสมัยกลาง
Wax Tablet  เป็นกรรมวิธีที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์โดยเฉพาะการบันทึกข้อมูลหรือสิ่งสำคัญต่างๆในเชิงการค้าและพาณิชย์ของพ่อค้าแถบยุโรป  จนล่วงมาถึงยุคศตวรรษที่ 19 จึงหมดความนิยมลงไปเนื่องจากมีการพัฒนาเทคนิคการบันทึกข้อมูลรูปแบบใหม่และทันสมัยขึ้นมาใช้

ในสังคมยุคปัจจุบันเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้   สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจะมีบทบาทสำคัญค่อนข้างมากต่อการนำมาใช้ในการพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพทางการเรียนในสังคมยุคใหม่ในปัจจุบันที่สื่อการศึกษาประเภท คอมพิวเตอร์จะมีอิทธิพลค่อนข้างสูงในศักยภาพการปรับใช้ดังกล่าว   และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาไทยตามนโยบายการแจกแท็บเล็ตเพื่อเด็กนักเรียนในยุคปัจจุบันโดยมุ่งเน้นกลุ่มนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามโครงการ One  Tablet  PC  Per  Child  ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี  ประกาศแจกแท็บเล็ต จำนวน 800,000 เครื่อง แก่เด็กชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 1 ซึ่งมีอายุราว 6 7 ขวบทุกคน โดยตั้งงบประมาณกว่า 4,000 ล้านบาท  เป็นการสร้างมิติใหม่ของการศึกษาไทยในการเข้าถึงการปรับใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง
ดร.ชินภัทร  ภูมิรัตน์  เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) อธิบายว่า บริษัท       ซัมซุง จำกัด ได้มานำเสนอระบบซอฟต์แวร์สำหรับการใช้งานกับเครื่องแท็บเล็ต เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีทิศทางในการจัดทำโครงการนำร่องต่อยอดการใช้แท็บเล็ตตามโครงการแท็บเล็ตเพื่อการศึกษาไทยของรัฐบาล เพราะต้องการเพิ่มศักยภาพการใช้งานแท็บเล็ตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดย สพฐ. จะนำระบบ Learning Management System หรือ LMS ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยบริหารจัดการการเรียนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) ประกอบไปด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน ผู้เรียน เช่น ผู้สอนสามารถจัดการเนื้อหาบทเรียนเองได้          
อย่างไรก็ตามการศึกษาในยุคใหม่ กระบวนการเรียนรู้มีความสำคัญมาก ครูมิใช่ผู้มอบความรู้ แต่เป็นผู้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ไปพร้อมกับผู้เรียน คนรุ่นใหม่ควรได้รับการพัฒนาให้เรียนรู้ได้เองตลอดชีวิต มีทักษะและกระบวนการอ่าน เขียนเป็น  ในยุคดิจิตอลการใช้แท็บเล็ตต้องเน้นกระบวนการเรียนรู้ และใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีอื่นด้วย ไม่ใช่ใช้แท็บเล็ตแทนหนังสือหรือสื่อ  การใช้แท็บเล็ตให้ได้ผลจึงขึ้นอยู่กับครู ที่จะออกแบบกระบวนการเรียนรู้ของเด็กผสมผสานกับกระบวนการต่างๆ ในโรงเรียน ซึ่งยากกว่าการบรรจุสื่อลงในแท็บเล็ต เด็กๆ ที่ใช้แท็บเล็ตตั้งแต่เล็กจะรับรู้และคุ้นเคยกับเทคโนโลยีและสร้างโลกส่วนตัว เริ่มรู้สึกว่ามีอิสรภาพทางความคิด สังคมและความรู้มีการเปลี่ยนแปลงเร็ว อุปกรณ์เครื่องมือที่เป็นวัตถุมีความสำคัญมากล้น แต่จิตวิญญาณอาจจางลง โลกจะกลับมาทำให้ผู้คนไม่สนใจคนข้างเคียง ไม่อยากพูดคุยกับคนที่อยู่ใกล้     ดังนั้นเหนืออื่นใด การศึกษาต้องเน้นสร้างจิตวิญญาณของการเรียนรู้ การคิดเป็น ต่อยอดความรู้ เน้นกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนเป็นหลัก มากกว่าการสอนหรือป้อนความรู้ให้เด็ก เรายังมีความท้าทายรอในอนาคตอีกมาก เพราะอายุของเทคโนโลยีสมัยใหม่สั้นมาก   การนำมาใช้ต้องคิดให้รอบคอบ ที่สำคัญครูและผู้เรียนจะต้องสร้างสมรรถนะทางคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม เพื่อรองรับการใช้งานร่วมกับผู้เรียน

ที่มา : http://www.mict.go.th
                      http://sivimonfai.wordpress.com
                      http://isranews.org

2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร
จากบทความเกี่ยวกับเรื่อง "สมาคมอาเซียน" จำนวน 3 บทความ   อาเซียนมีจุดเริ่มต้นจากสมาคมอาสา ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ แต่ได้ถูกยกเลิกไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 ได้มีการลงนามใน "ปฏิญญากรุงเทพ" อาเซียนได้ถือ กำเนิดขึ้นโดยมี รัฐสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ ได้แก่  ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ในเวลาต่อมา บรูไนดารุสซาลาม ได้เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 6 เมื่อปี 2527 เวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 7 ในปี 2538 ลาว  และ พม่า เข้าเป็นสมาชิกพร้อมกันเมื่อปี 2540 และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุดเมื่อปี 2542 ทำให้ในปัจจุบันอาเซียนมีสมาชิกรวมทั้งหมด 10 ประเทศ ปัจจุบันกฎบัตรอาเซียนได้มีการลงนามเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งทำให้อาเซียนมีสถานะคล้ายกับสหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้น   เขตการค้าเสรีอาเซียนได้เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2553 และกำลังก้าวสู่ความเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ใน ปี พ.ศ. 2558   โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม ความเข้าใจ อันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความ เจริญทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม การกินดีอยู่ดีบนพื้นฐานของความเสมอภาค และ ผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
เหลืออีกเพียง 2 ปีเศษ ประเทศไทย จะเปิดประตูเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เราจะเตรียมตัวให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้  ไม่ใช่แค่ให้ภาคอุตสาหกรรมที่ต้องปรับตัวตั้งรับเท่านั้น  ภาคการศึกษาเองก็ต้องปรับระบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับบริบทที่จะต้องเปลี่ยนแปลงในอนาคตทั้งในด้านทักษะวิชาชีพและภาษา เพราะเมื่อมีการเปิดตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้วทุกอย่างจะอยู่บนพื้นฐานของการแข่งขัน   
อาจารย์บุญยิ่ง  ประทุม   กล่าวว่า  การแข่งขันทั้งทางด้านเศรษฐกิจ  สังคม การเมือง การศึกษาและวัฒนธรรมในภูมิภาคอาเซียน  ส่งผลกระทบทางด้านการศึกษาของไทย  จึงควรมีการปรับตัวและการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆของการศึกษาเพื่อที่จะเข้าสู่อาเซียน ดังต่อไปนี้ คือ
การปรับตัวและการเตรียมความพร้อมของรัฐบาลในเชิง คือ กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาควรมีนโยบาย และแผนยุทธศาสตร์ในการรองรับการเตรียมความพร้อมของอุดมศึกษาไทยในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งที่ผ่านมานโยบายที่รองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของรัฐบาลยังไม่มีความชัดเจนมากนักในการนำไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งควรมีนโยบายในการปรับตัวและการเตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแก่มหาวิทยาลัยในประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม
 การปรับตัวด้านการเตรียมความพร้อมของอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา คือ อาจารย์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่ต้องพัฒนาศักยภาพของตนเองทางด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษากลางในการสื่อสารในภูมิภาคอาเซียน
การปรับตัวด้านการเตรียมความพร้อมของนักศึกษา คือ นักศึกษานั้นหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเรียนรู้ปรับตัว และเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ในอนาคต เช่น นักศึกษาต้องมีความสนใจและตระหนักถึงผลที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการรวมตัวของประเทศต่างๆ สู่ประชาคมอาเซียนในส่วนของข้อดีและข้อเสียอย่างเข้าใจ การเกิดขึ้นของประชาคมอาเซียนซึ่งสังคมยุคใหม่จะสะท้อนความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมเพิ่มมากขึ้น การเรียนรู้ของนักศึกษายุคใหม่จึงจำเป็นต้องปรับทั้งกระบวนการเรียนรู้ ปรับทัศนคติที่จะต้องตระหนักถึงความเป็นชาติ การปรับกระบวนทัศน์การเรียนรู้ยุคใหม่ควรเป็นไปอย่างมีเป้าหมาย อย่างคนรู้เท่าทันสถานการณ์  การสร้างความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นที่ต่างวัฒนธรรมได้และเรียนรู้ประเทศเพื่อนบ้านทั้งในด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน  พร้อมกับสร้างโอกาสเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ต้องเพิ่มทักษะทางด้านภาษาอังกฤษให้มากขึ้นให้สามารถสื่อสารได้เป็นอย่างดี
ดังนั้น  การเรียนการสอนควรมีการปฏิรูปไม่ใช่ปฏิรูปแต่องค์กรเพราะการสอนให้เด็กคิดเป็นไม่ใช่เรื่องง่าย  ก่อนอื่นอาจารย์ต้องคิดเป็นก่อน ต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการเรียนการสอน  ไม่ควรแยกระหว่างอุดมศึกษากับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ถ้าหากว่าครูหรืออาจารย์มีความรู้หรือข้อมูลน้อยกว่าเด็กแล้วจะสอนเด็กได้อย่างไร  เพราะในปัจจุบันเด็กมีการใช้เทคโนโลยีและศึกษาข้อมูลได้ดีกว่าผู้ใหญ่มีความคล่องตัวมากกว่า ขณะที่อาจารย์ยังใช้เอกสารตำราเล่มเก่า แต่เด็กมีการค้นคว้าจากอินเตอร์เน็ตมาก่อนเรียบร้อยแล้ว
                     http://www.ceted.org/tutorceted
                     http://ประชาคมอาเซียน.net
                     http://www.kruthai.info/view.php?article_id=1600

3.อ่านบทความ ครูกับภาวะผู้นำ   ของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ แสดงความคิดเห็น
                จากการที่ได้อ่านบทความ ครูกับภาวะผู้นำ   ผศ.ดร.สมาน ฟูแสง คณะบดีคณะครุศาสตร์ ได้กล่าวถึงครูกับภาวะผู้นำว่า "การที่ครูมีความรู้ความสามารถและแสดงออกให้เห็นว่าเป็นผู้มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน   เป็นที่ยอมรับของเพื่อนครู นักเรียน(นักศึกษา) และผู้ปกครอง จนทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมให้เกิดในองค์กรได้"

                ดังนั้น จากบทความดังกล่าวจะแสดงให้เห็นว่า การที่จะเป็นครูที่ดีได้นั้นครูต้องมีความเป็นผู้นำที่ดีเสียก่อน เช่น  ครูจะต้องศรัทธาในวิชาชีพของตัวเอง    ไว้วางใจในตนเองและวีชาชีพของตน    สร้างแรงบันดาลใจในการที่จะเป็นผู้นำ   และยอมรับในความเป็นปัจเจกบุคคล  เป็นต้น ซึ่งจะนำไปสู่การกล้าแสดงออก  นอกจากนี้ครูควรมีความรู้ความสามารถที่ดี  และมีพฤติกรรมที่ดีในการที่จะให้นักเรียนเอาเป็นแบบอย่างได้   เช่น  หาหนังสือที่ติดอันดับขายที่ดีที่สุดมาอ่าน  อยู่กับปัจจุบัน  มีความทันสมัย   มีความรู้เกี่ยวกับเด็ก    เป็นแบบอย่างในการเป็นผู้นำที่จะทำให้เด็กกล้าแสดงออกในภาวะผู้นำ   เป็นต้น
                ที่มา: http://www.gotoknow.org/blogs/posts/315219

4.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหานักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า                 ในการเรียนรู้โดยใช้บล็อกฉันมีวิธีการเรียนรู้โดยการที่ เริ่มแรกศึกษาจากอาจารย์ผู้สอนก่อน เมื่อเริ่มที่จะรู้ว่าการทำบล็อกทำอย่างไร ก็ลงมือทำและฝึกทำไปเรื่อยๆจนเกิดการเรียนรู้   ถ้าหากจะเรียนรู้โดนใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอการที่จะเรียนรู้ก็จะมากขึ้นเพราะเทคโนโลยียังมีการพัฒนาต่อไปเรื่อย ทำให้เราสามารถเรียนรู้ได้มากขึ้น และความรู้ที่เราใส่ลงไปในบล็อกก็ยังคงอยู่ เมื่อถึงเวลาที่เราอยากทราบเราก็สามารถกลับมาดูได้อีก  ในการเรียนวิชานี้ฉันจึงอยากได้คะแนนที่ดี  และอยากได้  เกรด A  เพราะ
1. ฉันมีความพยายามในการเรียนวิชานี้เป็นอย่างมาก    เนื่องจากวิชานี้เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการในชั้นเรียน   ซึ่งต่อไปในอนาคตเราจะต้องไปเป็นครูจำเป็นจะต้องรู้เรื่องดังกล่าวอยู่แล้ว ดังนั้นฉันจึงพยายามหาความรู้ให้ได้มากที่สุด โดยการตั้งใจทำบล็อกและนำเนื้อหาใส่ลงไปในบล็อกตามกิจกรรมที่อาจารย์สั่ง   เผื่อต่อไปในอนาคตจะได้นำความรู้ที่ใส่ลงในบล็อกกลับมาดูได้อีกครั้ง
2. ฉันเข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาด 
3. ฉันทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน
4. ฉันทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น   โดยการค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต   และนำข้อมูลที่ได้มาประกอบความคิดเห็นของตัวเองจนได้คำตอบออกมาใส่ลงในบล็อก
5. สิ่งที่ฉันตอบมาเป็นความสัตย์จริง   เพราะฉันมีความตั้งใจในการทำงาน   ใช้ความคิดเห็นของตนเองประกอบกับข้อมูลที่หามาได้จากอินเตอร์เน็ตในการตอบคำถามตามกิจกรรมที่อาจารย์สั่ง   มาเรียนตรงตามเวลา   ไม่เคยขาดเรียน

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่่ 9

การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน
การจัดโต๊ะเรียนและเก้าอี้ของนักเรียน
1.ให้มีขนาดเหมาะสมกับรูปร่างและวัยของนักเรียน
2. ให้มีช่องว่างระหว่างแถวที่นักเรียนจะลุกนั่งได้สะดวก และทำกิจกรรมได้คล่องตัว
3. ให้มีความสะดวกต่อการทำความสะอาดและเคลื่อนย้ายเปลี่ยนรูปแบบที่นั่งเรียน
4. ให้มีรูปแบบที่ไม่จำเจ เช่น อาจเปลี่ยนเป็นรูปตัวที ตัวยู รูปครึ่งวงกลม หรือ เข้ากลุ่มเป็นวงกลม ได้อย่างเหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอน
5. ให้นักเรียนที่นั่งทุกจุดอ่านกระดานดำได้ชัดเจน
6. แถวหน้าของโต๊ะเรียนควรอยู่ห่างจากกระดานดำพอสมควร ไม่น้อยกว่า 3 เมตร ไม่ควรจัดโต๊ะติดกระดานดำมากเกินไป ทำให้นักเรียนต้องแหงนมองกระดานดำ  และหายใจเอาฝุ่นชอล์กเข้าไปมาก ทำให้เสียสุขภาพ
การจัดโต๊ะครู
1. ให้อยู่ในจุดที่เหมาะสม อาจจัดไว้หน้าห้อง ข้างห้อง หรือหลังห้องก็ได้ งานวิจัยบางเรื่องเสนอแนะให้จัดโต๊ะครูไว้ด้านหลังห้องเพื่อให้มองเห็นนักเรียนได้อย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม การจัดโต๊ะครูนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบการจัดที่นั่งของนักเรียนด้วย
2. ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งบนโต๊ะและในลิ้นชักโต๊ะ เพื่อสะดวกต่อการทำงานของครู และการวางสมุดงานของนักเรียน ตลอดจนเพื่อปลูกฝังลักษณะนิสัยความเป็นระเบียบเรียบร้อยแก่นักเรียน

การจัดป้ายนิเทศ ป้ายนิเทศไว้ที่ฝาผนังของห้องเรียน ส่วนใหญ่จะติดไว้ที่ข้างกระดาน
1. จัดตกแต่งออกแบบให้สวยงาม น่าดู สร้างความสนใจให้แกนักเรียน
2. จัดเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับบทเรียน อาจใช้ติดสรุปบทเรียน ทบทวนบทเรียน หรือเสริมความรู้ให้แก่นักเรียน
3. จัดให้ใหม่อยู่เสมอ สอดคล้องกับเหตุการณ์สำคัญ หรือวันสำคัญต่าง ๆ ที่นักเรียนเรียนและควรรู้
4. จัดติดผลงานของนักเรียนและแผนภูมิแสดงความก้าวหน้าในการเรียนของนักเรียนจะเป็นการให้แรงจูงใจที่น่าสนใจวิธีหนึ่ง

การจัดสภาพห้องเรียน
1.  มีอากาศถ่ายเทได้ดี มีหน้าต่างพอเพียง และมีประตูเข้าออกได้สะดวก
2. มีแสงสว่างพอเหมาะ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนอ่านหนังสือได้ชัดเจน เพื่อเป็นการถนอมสายตา ควรใช้ไฟฟ้าช่วย ถ้ามีแสงสว่างน้อยเกินไป
3. ปราศจากสิ่งรบกวนต่าง ๆ เช่น เสียง กลิ่น ควัน ฝุ่น ฯลฯ
4. มีความสะอาด โดยฝึกให้นักเรียนรับผิดชอบช่วยกันเก็บกวาด เช็ดถู เป็นการปลูกฝังนิสัยรักความสะอาด และฝึกการทำงานร่วมกัน
การจัดมุมต่าง ๆ ในห้องเรียน
1. มุมหนังสือ ควรมีไว้เพื่อฝึกนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมให้นักเรียนอ่านคล่อง ส่งเสริม การค้นคว้าหาความรู้ และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ครูควรหาหนังสือหลาย ๆ ประเภท ที่มีความยากง่าย เหมาะสมกับวัยของนักเรียนมาให้อ่าน และควรหาหนังสือชุดใหม่มาเปลี่ยนบ่อย ๆ การจัดมุมหนังสือควรจัดให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อสะดวกต่อการหยิบอ่าน
2. มุมเสริมความรู้กลุ่มประสบการณ์ต่าง ๆ ควรจัดไว้ให้น่าสนใจ ช่วยเสรมความรู้ ทบทวนความรู้ เช่น มุมภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา มุมความรู้ข่าว เหตุการณ์ ฯลฯ
3. มุมแสดงผลงานของนักเรียน ครูควรติดบนป้ายนิเทศ แขวนหรือจัดวางไว้บนโต๊ะ เพื่อให้นักเรียนเกิดความภูมิใจในความสำเร็จ และมีกำลังใจในการเรียนต่อไป อีกทั้งยังสามารถแก้ไขพัฒนาผลงานของนักเรียนให้ดีขึ้นโดยลำดับได้อีกด้วย
4. ตู้เก็บสื่อการเรียนการสอน เช่น บัตรคำ แผนภูมิ ภาพพลิก กระดาษ สี กาว ฯลฯ ควรจัดไว้ให้เป็นระเบียบ เป็นสัดส่วน สะดวกต่อการหยิบใช้ อุปกรณ์ชิ้นใดที่เก่าเกินไปหรือไม่ใช้แล้วไม่ควรเก็บไว้ในตู้ให้ดูรกรุงรัง
5. การประดับตกแต่งห้องเรียน ครูส่วนใหญ่มักนิยมประดับตกแต่งห้องเรียนด้วยสิ่งต่าง ๆ เช่น ม่าน มู่ลี่ ภาพ ดอกไม้ คำขวัญ สุภาษิต ควรตกแต่งพอเหมาะไม่ให้ดูรกรุงรัง สีสันที่ใช้ไม่ควรฉูดฉาด หรือใช้สีสะท้นแสง อาจทำให้นักเรียนเสียสายตาได้ การประดับตกแต่งห้องเรียน ควรคำนึงถึงหลักความเรียบง่าย เป็นระเบียบ ประหยัด มุ่งประโยชน์ และสวยงาม
6. มุมเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาด ตลอดจนชั้นวางเครื่องมือเครื่องใช้ของนักเรียน เช่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน แก้วน้ำ กล่องอาหาร ปิ่นโต ฯลฯ ควรจัดวางไว้อย่างเป็นระเบียบ และหมั่นเช็ดถูให้สะอาดเสมอ

วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรทที่ 8

ครูมืออาชีพในอุดมคติ
                ครูอาชีพคือ ครูที่มีความรู้ ความสามารถ ความเมตตากรุณา จิตวิญญาณของความเป็นครูในการอบรมสั่งสอนนักเรียนอย่างสุดความสามารถ โดยไม่รู้จักเหน็ดจักเหนื่อย
ครูมืออาชีพ   ต้องมีลักษณะพื้นฐานในตน   3   ประการ ต่อไปนี้
1. ครูต้องมี   ฉันทะ   ต่ออาชีพครูเป็นพื้นฐาน
2. ครูต้องมีความ   เมตตา ต่อเด็กและบุคคลรอบข้างเป็นพื้นฐาน
3. ครูต้องมีความเป็น   กัลยาณมิตร   พร้อมเสมอที่จะช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจ

ครูมืออาชีพ   ต้องมีความสามารถ ต่อไปนี้
            1. สามารถประยุกต์ใช้ยุทธศาสตร์ และการจัดระบบ ได้อย่างเหมาะสมกับการเรียนรู้และความต้องการทางการศึกษาของผู้เรียน  สภาพแวดล้อมของโรงเรียนและสาระการเรียนรู้ที่สอน
             2. สามารถติดตามการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ใช้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อวางแผนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคล  เป็นกลุ่มและเป็นชั้น
             3.  ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างอิสระ  ฝึกการใช้ภาษา คาดหวังให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้
            4.  พัฒนาความสัมพันธ์เชิงจรรยาบรรณ  บนพื้นฐานทักษะการสื่อสารที่ดีให้การยอมรับผู้เรียนทุกคน และคาดหวังจะได้รับการยอมรับจากผู้เรียน
            5.  มีความรู้ที่ทันสมัย  และสนับสนุนข้อคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตรอย่างกระตือรือร้น
            6.  เชื่อความสามารถในการเรียนของผู้เรียนทุกคน  คาดหวังว่าผู้เรียนทุกคนเรียนรู้และส่งความคาดหวังนี้ไปยังแต่ละบุคคล  โรงเรียนและชุมชน
            7.  กระตือรือร้นในการฝึกผู้เรียนเข้าสู่ประสบการณ์แห่งการเรียนรู้เรื่องที่ผู้เรียนเห็นว่ามีความสำคัญต่อชีวิตของตน
            8.  ช่วยให้ผู้เรียนสามารถสร้างความเชื่อมโยง  เข้าใจความสัมพันธ์ทั้งภายในและระหว่างสาระการเรียนรู้

ครูมืออาชีพ   ต้องมีหลักในการสอนต่อไปนี้
1.ศึกษาหลักสูตรให้กระจ่าง                                                 2.วางแผนการสอนอย่างดี
3.มีกิจกรรม/ทำอุปกรณ์                                                       4.สอนจากง่ายไปหายาก
5.วิธีสอนหลากหลายชนิด                                                    6.สอนให้คิดมากกว่าจำ
7.สอนให้ทำมากกว่าท่อง                                                     8.แคล่วคล่องเรื่องสื่อสาร
9.ต้องชำนาญการจูงใจ                                                       10.อย่าลืมใช้จิตวิทยา
11.ต้องพัฒนาอารมณ์ขัน                                                    12.ต้องผูกพันห่วงหาศิษย์
13.เฝ้าตามติดพฤติกรรม                                                    14.อย่าทำตัวเป็นทรราช
15.สร้างบรรยากาศไม่น่ากลัว                                            16.ประพฤติตัวตามที่สอน
17.อย่าตัดรอนกำลังใจ                                                      18.ให้เทคนิคการประเมิน
19.ผู้เรียนเพลินมีความสุข                                                  20.ครูสนุกกับการเรียน

           สรุป  ครูมืออาชีพต้องเน้นการสอนให้มีคุณภาพ  เพราะว่าคุณภาพการสอนของครูย่อมส่งผลต่อนักเรียน  ครูต้องมุ่งเน้นให้นักเรียนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิหน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาคและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากล
ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ  รู้จักพึ่งตนเอง มีความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง ทั้งหมดนี้ 
จะนำไปสู่การประเมินคุณภาพของครูซึ่งจะประเมินจากตัวเด็ก ดังคำกล่าวที่ว่า คุณภาพของเด็ก สะท้อน คุณภาพของครู  ดังนั้น ครูมืออาชีพควรมีและควรเป็นก็คือ  ต้องเน้นคุณลักษณะพื้นฐานนั่นคือ  ฉันทะ เมตตา และ กัลยาณมิตร  ซึ่งถือว่าเป็นคุณภาพพื้นฐานที่สำคัญของครู  และพัฒนาการสอนของครูซึ่งเป็นภารกิจหลัก โดยเฉพาะการสอนอย่างมีคุณภาพ นั่นคือ ครูมืออาชีพ  จึงต้องมีคุณธรรมโน้มนำ  ทำการสอนอย่างมีคุณภาพ    มีความรู้ความสามารถที่ดี   และมีภาพลักษณ์ของความเป็นครูดี 

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

                  1.บทความเรื่อง สอนแนะให้รู้จักคิดรูปแบบหนึ่งการจัดการเรียนกาสอนคณิตศาสตร์ 
ให้นักเรียนอ่านบทความแล้วดำเนินการดังนี้
1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
จากบทความเรื่อง สอนแนะให้รู้จักคิดรูปแบบหนึ่งการจัดการเรียนกาสอนคณิตศาสตร์  ได้นำทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับการสอนแนะให้รู้คิดของพีอาเจต์   บรูเนอร์  และอ๊อสชุเบล  มาใช้เป็นแนวการในสอนของครู   เพื่อที่จะให้ผู้เรียนมีทักษะในการให้เหตุผล   มีทักษะในการเชื่อมโยง  ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนสามารถฝึกคิดวิเคราะห์   คิดสังเคราะห์และสามารถให้เหตุผลประกอบในเนื้อหาที่เรียนได้   รวมทั้งจะทำให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาวิชาเข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง  สามารถนำการเรียนรู้ในชั้นเรียนมาใช้กับชีวิตในประจำวัน  โดยครูจะต้องเป็นผู้นำเสนอปัญหา  ช่วยแนะให้นักเรียนมีความเข้าใจในปัญหา   เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแก้ปัญหาและร่วมกันอภิปรายคำตอบ  จึงจะทำให้ผู้เรียนสารมารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ได้   ครูจึงมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการจัดการสอนให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้           
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
จากความรู้ที่ได้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน  โดยการนำแนวคิดและทฤษฎีจากบทความดังกล่าวข้างต้นมาใช้ในการสอนโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้  ซึ่งครูผู้สอนจะต้องกำหนดปัญหา  ให้ผู้เรียนร่วมกันแก้ปัญหา  และร่วมกันอภิปราย  จึงจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจมากขึ้น  นอกจากนี้ครูผู้สอนยังสามารถนำสื่อและเทคโนโลยีต่างๆมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้  เพื่อที่จะทำให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจมากขึ้น

3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
               
ในการจัดการสอนผู้สอนจะต้องเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  โดยการกำหนดปัญหาให้นักเรียนรู้จักคิดวิเคราะห์  สังเคราะห์  สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ให้เข้ากับชีวิตจริงได้  รวมทั้งนำเครื่องมือที่ทันสมัยมาใช้การสอนเพื่อที่จะให้ผู้เรียนมีความรู้มากขึ้นและก้าวทันโลกทันเหตุการณ์ต่างๆ 
                                                                                                                                                                                                                        
          2.บทความเรื่อง ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   ของดร.สุเมธ   ตันติเวชกุล   วารสารทักษิณ
ให้นักเรียนอ่านบทความแล้วดำเนินการดังนี้
1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
จากบทความเรื่อง ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของดร.สุเมธ   ตันติเวชกุล  วารสารทักษิณ  ได้กล่าวว่า  ท่านทรงเป็น ครูของแผ่นดิน เพราะตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาพระองค์ได้สอนให้ประชาชนคนไทยรู้จักและเข้าใจ  ดิน  น้ำ  ลม  ไฟ   สอนให้รู้จักชีวิต  สอนให้รู้จักใช้พฤติกรรมในการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น  รู้จักแบ่งปัน  มีน้ำใจ  และเข้าใจผู้อื่น  พระองค์สอนในเรื่องของการดำรงชีวิต การทำมาหากินของคนไทย  โดยส่วนใหญ่คนไทยจะประกอบอาชีพเกษตรกร  พระองค์ก็ได้คิด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขึ้นมา ซึ่งเป็นที่ยอมรับของคนทั่วโลก  จากแนวคิดของพระองค์ทำให้คนไทยอยู่อย่างพอเพียงรู้จักนำทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์  และยังมีโครงการต่างๆอีกมากมายที่คิดขึ้นเพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของคนไทย  นอกจากนี้พระองค์ยังสอนเกี่ยวกับเรื่องของการศึกษา   โดยมุ่งเน้นให้เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษา  แต่การที่เด็กจะได้รับความรู้ที่ดี  ครูจะต้องมีความรู้ที่ดีและมากพอที่จะถ่ายทอดให้ผู้เรียน  ครูจะจึงต้องศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลา จึงจะทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาและสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้   เช่นเดียวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงเป็นครูของแผ่นดิน  ซึ่งตัวอย่างที่ดีของประชาชนตลอดมา  ประชาชนคนทุกจึงรักพระองค์
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
จากความรู้ที่ได้ดิฉันจะนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน  โดยการที่จะเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียน  ทั้งในเรื่องของการศึกษาหาความรู้ ที่ได้จากชีวิตจริง  นำมาสอนให้นักเรียนรู้จักคิด  รู้จักวางแผน  และนำความรู้ที่ได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น  และจะสอนให้นักเรียนรู้จักประหยัด  อดออม  ประกอบอาชีพที่สุจริต และ นำทรัพยากรที่มีในประเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด  โดยการนำเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้ เป็นสื่อในการเรียนการสอน  นอกจากนี้ดิฉันจะจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนได้เรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนเพื่อพัฒนาความรู้ของผู้เรียนให้กว้างไกลและไม่น่าเบื่อ

3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร

ในการออกแบบการเรียนการสอนสามารถนำแนวคิดที่ได้จากเรื่องคุณธรรม  จริยธรรม  รวมทั้งเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปใช้  โดยการที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง  ให้ผู้เรียนได้ลองผิด  ลองถูกด้วยตนเองในการค้นคว้าหาความรู้ที่จะใช้ในการเรียน เพื่อที่จะฝึกให้ผู้เรียนเป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียนรู้  รู้จักคิดวางแผนในการทำงาน  รู้จักประหยัดอดออม  นำสิ่งที่มีอยู่รอบตัวมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น    ดังเช่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
               
               
               



วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 7

             ให้นักศึกษาศึกษาดูโทรทัศน์ครู ให้เลือกเรื่องที่นักศึกษาสนใจมาคนละ 1 เรื่อง  และเขียนลงในบล็อกกิจกรรมของนักเรียน ดังนี้
1. สอนเรื่องอะไร  ผู้สอนชื่อ  ระดับชั้นที่สอน
              เรื่องแผนภูมิกับการพรางตัว   ผู้สอน ผศ.พิมพ์พร อสัมภินพงศ์    ระดับชั้นที่สอนประถมศึกษาปีที่ 6
2. เนื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง
              เนื้อหาที่ใช้สอนจะเกี่ยวกับเรื่องแผนภูมิรูปภาพ แผนภูมิแท่ง กราฟ และแผนภูมิวงกลม
3. จัดกิจกรรมการสอนด้าน (สติปัญญา=IQ, อารมณ์=EQ, คุณธรรมจริยธรรม=MQ)
              การจัดกิจกรรมการสอนด้านสติปัญญา   ครูได้ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม  นำอุปกรณ์ต่างๆ เช่น  ใบไม้  ก้อนหิน  เหรียญ   และตาราง 100 ช่อง   มาใช้ในการนำเสนอข้อมูลแผนภูมิรูปภาพ แผนภูมิแท่ง กราฟ และแผนภูมิวงกลม ซึ่งเมื่อนักเรียนได้ทำการเก็บรวมรวมข้อมูลก็จะสามารถทำการนำเสนอข้อมูลออกมาในรูปแบบต่าง ๆ ได้ ซึ่งจะช่วยพัฒนาทางด้านสติปัญญาของผู้เรียนให้มีกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบสามารถนำอุปกรณ์ที่มีอยู่รอบตัวมาประยุกต์ใช้ในการเรียนได้                                                                                                                      
              การจัดกิจกรรมการสอนด้านอารมณ์  ครูได้มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน   ทำให้นักเรียนไม่เบื่อและเกิดความสนใจในเรื่องที่จะเรียน 
              การจัดกิจกรรมการสอนด้านคุณธรรมจริยธรรม   ครูได้มอบหมายงานให้นักเรียนทำและปลูกฝังความรับผิดชอบในการทำงานให้กับนักเรียน 
4. บรรยากาศการจัดห้องเรียน เป็นอย่างไร
             บรรยากาศในการจัดห้องเรียนมีการจัดห้องเรียนอย่างสะอาด   มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย     โต๊ะ เก้าอี้  มีการจัดอย่างเป็นระเบียบ   ตามฝาผนังห้องเรียนมีการจัดแต่งโดยการติดข้อความหรือข้อมูลต่างๆที่ให้ความรู้แก่นักเรียน  และ เกิดความงามดูแล้วสบายตา 

กิจกรรมที่่ 6

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 5


ชื่อ สกุล      นายสุริยา โนนเสนา 
เกิดวันที่    16    มีนาคม    2512
เป็นบุตรของ     คุณพ่อคำภา  โนนเสนา   คุณแม่ทอง โนนเสนา
มีพี่น้อง 5 คน
1.นายสุริยา  โนนเสนา  
ผู้อำนวยการโรงเรียนทุ่งควายพัฒนาศึกษา ศษ.ม.การบริหารการศึกษา
2.นายสุรสิทธิ์  โนนเสนา 
รองนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลโนนศิลา กำลังศึกษาต่อปริญญาโท
3.นายพรลิขิต  โนนเสนา  ประกอบอาชีพส่วนตัว
4.นางอริสรา แสงพันธ์ตา   โรงเรียนบ้านหันศิลางาม 
5.นางสาวอัจฉรา  โนนเสนา  
ทำงานครูศูนย์พิริยา-นาวิน กรุงเทพมหานคร

ประวัติการศึกษา
- จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหัน (โรงเรียนบ้านหันศิลางาม)     
อ.โนนศิลา     จ.ขอนแก่น
- จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านไผ่ (ข.ก.5)      
อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น
- จบการศึกษาปริญญาตรี
วิชาเอกเทคโนโลยีนวัตกรรมทางการศึกษา
วิขาโท ภูมิศาสตร์ วิทยาลัยครูอุดรธานี
-คุณวุฒิสูงสุด ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต
วิชาเอก การบริหารการศึกษาจากสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ประวัติการทำงาน
Ø ตำแหน่ง
ผู้อำนวยการโรงเรียน สถานศึกษา โรงเรียนทุ่งควายพัฒนศึกษา อำเภอ ทุ่งสง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
Ø การรับราชการ
16 พฤศจิกายน 2536 อาจารย์ 1 โรงเรียนบ้านท่าโป่ง สปจ.ชัยภูมิ
1 ตุลาคม 2539 อาจารย์ 1 โรงเรียนบ้านท่าโป่ง สปจ.ชัยภูมิ
23 มกราคม 2541 อาจารย์ 1 โรงเรียนบ้านวังกะทะ สปจ.ชัยภูมิ
1 ตุลาคม 2542 อาจารย์ 1 โรงเรียนบ้านวังกะทะ สปจ.ชัยภูมิ
1 เมษายน 2546 อาจารย์ 2 โรงเรียนบ้านวังกะทะ สปจ.ชัยภูมิ
7 กรกฎาคม 2546 อาจารย์ 2 โรงเรียนบ้านวังกะทะ สพท.ชัยภูมิ เขต 3
23 มี.ค.2548- 3พ.ย.2548 ช่วยราชการโรงเรียนสังวาลย์วิท 7 อำเภอบางขัน สพท.นศ.2
1 พฤศจิกายน 2547   อาจารย์ 2 โรงเรียนบ้านควนประ สพท.นศ.2
24 ธันวาคม 2547   ครู คศ. 2 โรงเรียนบ้านควนประ
1 กุมภาพันธ์ 2549  ครู คศ. 2 โรงเรียนบ้านควนประ
16 สิงหาคม 2549   ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคลองปีกเหนือ/ ชำนาญการ คศ. 2
29 สิงหาคม 2551   ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดถ้ำใหญ่ / คศ. 2
1 ตุลาคม 2551  ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดถ้ำใหญ่ /  คศ. 2
1 เมษายน 2552  ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดถ้ำใหญ่ /  คศ. 2
28 กันยายน 2552  ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดถ้ำใหญ่ / คศ. 3 ชำนาญการพิเศษ
3 พฤศจิกายน 2553 ผู้อำนวยการโรงเรียนทุ่งควายพัฒนศึกษา  คศ.3 ชำนาญการพิเศษ
Ø เป็นวิทยากร
- วิทยากรการแก้ไขปัญหายาเสพติดและโรคเอดส์ อำเภอหนองบัวระเหว
- วิทยากรการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ชั้นความรู้เบื้องต้น และความรู้ชั้นสูง
-ผู้อำนวยการฝึกอบรมผูบังคับบัญชาลูกเสือ ขั้นความรู้เบื้องต้น
-ผู้อำนวยการฝึกอบรมลูกเสือวิสามัญเรือนจำอำเภอทุ่งสง
Ø คณะกรรมการสมาคม
-ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์  สมาคมผู้ประกอบวิชาชีพครูอำเภอช้างกลาง พ.ศ. 2549-2551
-ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์  สมาคมผู้ประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาอำเภอทุ่งสง พ.ศ. 2552-ปัจจุบัน
Ø เวปมาสเตอร์
-โรงเรียนทุ่งควายพัฒนศึกษา
-สำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
-สมาคมผู้ประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาอำเภอทุ่งสง

ผลงานดีเด่น
-ปี พ.ศ. 2536 ครูคณิตศาสตร์ดีเด่น
-ปี พ.ศ.2537 ครูจริยศึกษาดีเด่น สปจ.ชัยภูมิ
-ปี พ.ศ.2540-2542 ครูทักษะชีวิตการแก้ไขปัญหาและโรคเอดส์ดีเด่น  สปจ.ชัยภูมิ
-ปี พ.ศ. 2547 ครูผู้สอนลูกเสือดีเด่น สพท.นศ.2
-ปี พ.ศ. 2548 ผู้บังคับบัญชาลูกเสือดีเด่น ประเภทครูผู้สอน สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ
-ปี พ.ศ. 2551 ผู้บริหารสถานศึกษาดีเด่น สพท.นศ.2
-ปี พ.ศ. 2551 ผู้บังคับบัญชาลูกเสือดีเด่น ประเภทผู้บริหาร  สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ
- ปี พ.ศ. 2552 ผู้ช่วยผู้ตรวจการลูกเสือ สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ
- ปี พ.ศ. 2552 ผู้ทรงคุณวุฒิ ประเมินผลขั้นที่ 5 ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ สพท.นศ.2
- ปี พ.ศ. 2553 คณะกรรมการสมาคมสโมสรลูกเสือทุ่งสง   ฝ่ายฝึกอบรม

การประยุกต์สิ่งที่ดีของครูมาใช้ในการพัฒนาตนเอง
             จากประวัติการศึกษา   ประวัติการทำงาน  และผลงานของครูสุริยา ทำให้เห็นถึงความตั้งใจ     ความพยายามและการเอาใจใส่ในการทำงานของท่านจนทำให้ท่านได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการจนถึงทุกวันนี้  ในการทำงานของท่านท่านได้มีนโยบายที่จะพัฒนา   ครู  และนักเรียน ให้เป็นครูและนักเรียนยุคใหม่ ที่ประกอบไปด้วยคุณธรรม  จริยธรรม  และสติปัญญาที่ดี   นอกจากผลงานดังกล่าวข้างต้น  ท่านยังมีนโยบายที่จะพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพที่ดีและเป็นสถานที่เรียนรู้ที่ทันสมัย 
             ดังนั้นจากที่ฉันได้ศึกษาประวัติของครูสุริยา  ฉันสามารถนำสิ่งที่ดีของครูมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเอง   ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการการศึกษา    หรือการทำงานที่ฉันจะต้องมีความพยายาม  อดทน  จึงจะประสบความสำเร็จ  นอกจากนี้ในการที่จะประสบความสำเร็จได้นั้นจะต้องมีคุณธรรม  จริยธรรมควบคู่ไปด้วย   เมื่อเราสามารถพัฒนาตนเองให้ดีได้แล้ว  เราก็จะสามารถเป็นแบบอย่างในการพัฒนาบุคคลและสังคมให้มีความเจริญรุ่งเรืองได้                                                                                                                                                                                

                  


                                            ครูมิใช่ช่างปั้นอันวิจิตร                        แต่ต้องคิดวาดวางกางแผนผัง
                                            ครูมิใช่นายทุนหนุนกำลัง                    ต้องเก็งทั้งขาดทุนตุนกำไร
                                            ครูมิใช่พ่อค้านายพาณิชย์                    ดีดลูกคิดคาดการณ์ด้านไหนไหน
                                            แต่ยังเป็นผู้ค้าอย่างเต็มใจ                    ยอมขาดทุนตลอดไปชั่วนิรันดร์
                                            ครูมิใช่นักปกครองช่ำชองศึก             แต่ก็คึกคะนองปกป้องขั้น
                                            ครูมิใช่นักวิชาการเชี่ยวชาญครัน      แต่โชกโชนด้วยผูกพันวิชาการ
                                            ครูมิใช่นักแสดงโลกแสงสี                 แต่สวมบททุกที่ด้วยอาจหาญ
                                            ครูมิใช่ผู้กำกับผู้บงการ                        แต่เฉียบขาดในแผนงานการบัญชา