วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

ทดสอบปลายภาค

ให้นักศึกษาอ่านบทความต่อไปนี้ วิเคราะห์แสดงความคิดเห็น
1.แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า  ใช้ Keywordว่า     "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน
              จากบทความเกี่ยวกับเรื่อง
"แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา" จำนวน  3 บทความ "แท็บเล็ต " ในความหมายแท้จริงแล้วก็คือแผ่นจารึกที่เอาไว้บันทึกข้อความต่างๆโดยการเขียน (อาจจะเป็นกระดาษ, ดิน, ขี้ผื้ง, ไม้, หินชนวน) และมีการใช้กันมานานแล้วในอดีต  แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ที่ใช้แนวคิดนี้ขึ้นมาแทนที่ซึ่งมีหลายบริษัทได้ให้คำนิยามที่แตกต่างกันไป หลักๆแล้วก็มี 2 ความหมายด้วยกันคือ "แท็บเล็ต พีซี -Tablet PC (Tablet Personal Computer)" และ "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ (Tablet Computer)" หรือเรียกสั้นๆว่า "แท็บเล็ต (Tablet)"       
"แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet personal computer)" คือ "เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถพกพาได้และใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก ออกแบบให้สามารถทำงานได้ด้วยตัวมันเอง" ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากหลังจากทาง Microsoft ได้ทำการเปิดตัว Microsoft Tablet PC ในปี 2001 แต่หลังจากนั้นก็เงียบหายไปและไม่เป็นที่นิยมมากนัก "แท็บเล็ต พีซี ( Tablet PC)" ไม่เหมือนกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือ Laptops ตรงที่อาจจะไม่มีแป้นพิมพ์ในการใช้งาน แต่อาจจะใช้แป้นพิมพ์เสมือนจริงในการใช้งานแทน (มีแป้นพิมพ์ปรากฎบนหน้าจอใช้การสัมผัสในการพิมพ์) "แท็บเล็ต พีซี (Tablet PC)" ทุกเครื่องจะมีอุปกรณ์ไร้สายสำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและระบบเครือข่ายภายใน
"แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ (Tablet Computer)" หรือเรียกสั้นๆว่า "แท็บเล็ต ( Tablet)" คือ "เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ขนาดกลางและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบ convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุนหรือแบบสไลด์ก็ตาม" ซึ่งทางบริษัท Apple ผู้ผลิต "ไอแพด (iPad)" ได้เรียกอุปกรณ์ของตัวเองว่าเป็น "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ (Tablet Computer)" เครื่องแรก

จากการศึกษาวิเคราะห์ในเชิงประวัติศาสตร์และหลักฐานต่างๆที่ค้นพบของการใช้เทคโนโลยีประเภทแท็บเล็ต (Tablet) นั้นมีข้อสันนิฐานและกล่าวกันว่าแท็บเล็ตในยุคประวัติศาสตร์ได้เริ่มต้นจากการที่มนุษย์ได้คิดค้นเครื่องมือสำหรับการพิมพ์หรือบันทึกข้อมูลจากแผ่นเยื่อไม้ที่เคลือบด้วย (Wax)บนแผ่นไม้ในลักษณะของการเคลือบประกบกันทั้ง 2 ด้าน ใช้ประโยชน์ในการบันทึกอักขระข้อมูลหรือการพิมพ์ภาพ  ซึ่งปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนจากบันทึกของซิเซโร่ (Cicero) ชาวโรมัน  เกี่ยวกับลักษณะของการใช้เทคนิคดังกล่าวนี้จะมีชื่อเรียกว่า “ Cerae” ที่ใช้ในการพิมพ์ภาพบนฝาผนังที่วินโดแลนดา (Vindolada) บนฝาผนังที่ชื่อผนังฮาเดรียน (Hadrian’ Wall)
หลักฐานชิ้นอื่นๆที่ปรากฏจากการใช้แท็บเล็ตยุคโบราณที่เรียกว่า Wax  Tablet   ปรากฏในงานเขียนบทกวีของชาวกรีก  ชื่อโฮเมอร์  (Homer)  ซึ่งเป็นบทกวีที่ถูกนำไปอ้างอิงไว้ในนิยายปรัมปราของชาวกรีกที่ชื่อว่า  Bellerophon  โดยแสดงให้เห็นจากการเขียนอักษรกรีกโบราณจากการใช้เครื่องมือดังกล่าว
นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่บ่งบอกถึงแนวคิดการใช้เทคโนโลยีแท็บเล็ตโบราณในลักษณะของการบันทึกเนื้อหาลงในวัสดุอุปกรณ์ในยุคประวัติศาสตร์คือ  ภาพแผ่นหินแกะสลักลายนูนต่ำที่ขุดค้นพบในดินแดนแถบตะวันออกกลางที่อยู่ระหว่างรอยต่อของซีเรียและปาเลสไตน์  เป็นหลักฐานสำคัญที่สันนิษฐานว่าจะมีอายุราวก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 640 – 615  ทั้งนี้บริเวณที่ขุดค้นพบจะอยู่แถบตะวันตกเฉียงใต้ของพระราชวังโบราณที่ Nineveh  ของ  lraq  นอกจากนี้ยังได้พบอุปกรณ์ของการเขียน  Wax  Tablet  โบราณของชาวโรมันที่เป็นลักษณะคล้ายแท่งปากกาที่ทำจากงาช้าง  ซึ่งหลักฐานที่ปรากฏเหล่านี้ต่างเป็นสิ่งที่ยืนยันถึงวิวัฒนาการและแนวคิดการบันทึกข้อมูลในลักษณะของการใช้  Tablet ในปัจจุบัน
สำหรับหลักฐานการใช้ Wax Tablet  ยุคต่อมาช่วงกลางที่พบคือ  การบันทึกเป็นหนังสือโดยบาทหลวง  Tournai  (ค.ศ.  1095 - 1147)  ชาวออสเตรีย  เป็นการบันทึกบนแผ่นไม้ 10 แผ่น ขนาด 375x207 mm.  อธิบายเกี่ยวกับสภาพการถูกกดขี่ของทาสในยุคขุนนางสมัยกลาง
Wax Tablet  เป็นกรรมวิธีที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์โดยเฉพาะการบันทึกข้อมูลหรือสิ่งสำคัญต่างๆในเชิงการค้าและพาณิชย์ของพ่อค้าแถบยุโรป  จนล่วงมาถึงยุคศตวรรษที่ 19 จึงหมดความนิยมลงไปเนื่องจากมีการพัฒนาเทคนิคการบันทึกข้อมูลรูปแบบใหม่และทันสมัยขึ้นมาใช้

ในสังคมยุคปัจจุบันเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้   สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจะมีบทบาทสำคัญค่อนข้างมากต่อการนำมาใช้ในการพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพทางการเรียนในสังคมยุคใหม่ในปัจจุบันที่สื่อการศึกษาประเภท คอมพิวเตอร์จะมีอิทธิพลค่อนข้างสูงในศักยภาพการปรับใช้ดังกล่าว   และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาไทยตามนโยบายการแจกแท็บเล็ตเพื่อเด็กนักเรียนในยุคปัจจุบันโดยมุ่งเน้นกลุ่มนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามโครงการ One  Tablet  PC  Per  Child  ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี  ประกาศแจกแท็บเล็ต จำนวน 800,000 เครื่อง แก่เด็กชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 1 ซึ่งมีอายุราว 6 7 ขวบทุกคน โดยตั้งงบประมาณกว่า 4,000 ล้านบาท  เป็นการสร้างมิติใหม่ของการศึกษาไทยในการเข้าถึงการปรับใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง
ดร.ชินภัทร  ภูมิรัตน์  เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) อธิบายว่า บริษัท       ซัมซุง จำกัด ได้มานำเสนอระบบซอฟต์แวร์สำหรับการใช้งานกับเครื่องแท็บเล็ต เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีทิศทางในการจัดทำโครงการนำร่องต่อยอดการใช้แท็บเล็ตตามโครงการแท็บเล็ตเพื่อการศึกษาไทยของรัฐบาล เพราะต้องการเพิ่มศักยภาพการใช้งานแท็บเล็ตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดย สพฐ. จะนำระบบ Learning Management System หรือ LMS ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยบริหารจัดการการเรียนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) ประกอบไปด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน ผู้เรียน เช่น ผู้สอนสามารถจัดการเนื้อหาบทเรียนเองได้          
อย่างไรก็ตามการศึกษาในยุคใหม่ กระบวนการเรียนรู้มีความสำคัญมาก ครูมิใช่ผู้มอบความรู้ แต่เป็นผู้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ไปพร้อมกับผู้เรียน คนรุ่นใหม่ควรได้รับการพัฒนาให้เรียนรู้ได้เองตลอดชีวิต มีทักษะและกระบวนการอ่าน เขียนเป็น  ในยุคดิจิตอลการใช้แท็บเล็ตต้องเน้นกระบวนการเรียนรู้ และใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีอื่นด้วย ไม่ใช่ใช้แท็บเล็ตแทนหนังสือหรือสื่อ  การใช้แท็บเล็ตให้ได้ผลจึงขึ้นอยู่กับครู ที่จะออกแบบกระบวนการเรียนรู้ของเด็กผสมผสานกับกระบวนการต่างๆ ในโรงเรียน ซึ่งยากกว่าการบรรจุสื่อลงในแท็บเล็ต เด็กๆ ที่ใช้แท็บเล็ตตั้งแต่เล็กจะรับรู้และคุ้นเคยกับเทคโนโลยีและสร้างโลกส่วนตัว เริ่มรู้สึกว่ามีอิสรภาพทางความคิด สังคมและความรู้มีการเปลี่ยนแปลงเร็ว อุปกรณ์เครื่องมือที่เป็นวัตถุมีความสำคัญมากล้น แต่จิตวิญญาณอาจจางลง โลกจะกลับมาทำให้ผู้คนไม่สนใจคนข้างเคียง ไม่อยากพูดคุยกับคนที่อยู่ใกล้     ดังนั้นเหนืออื่นใด การศึกษาต้องเน้นสร้างจิตวิญญาณของการเรียนรู้ การคิดเป็น ต่อยอดความรู้ เน้นกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนเป็นหลัก มากกว่าการสอนหรือป้อนความรู้ให้เด็ก เรายังมีความท้าทายรอในอนาคตอีกมาก เพราะอายุของเทคโนโลยีสมัยใหม่สั้นมาก   การนำมาใช้ต้องคิดให้รอบคอบ ที่สำคัญครูและผู้เรียนจะต้องสร้างสมรรถนะทางคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม เพื่อรองรับการใช้งานร่วมกับผู้เรียน

ที่มา : http://www.mict.go.th
                      http://sivimonfai.wordpress.com
                      http://isranews.org

2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร
จากบทความเกี่ยวกับเรื่อง "สมาคมอาเซียน" จำนวน 3 บทความ   อาเซียนมีจุดเริ่มต้นจากสมาคมอาสา ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ แต่ได้ถูกยกเลิกไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 ได้มีการลงนามใน "ปฏิญญากรุงเทพ" อาเซียนได้ถือ กำเนิดขึ้นโดยมี รัฐสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ ได้แก่  ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ในเวลาต่อมา บรูไนดารุสซาลาม ได้เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 6 เมื่อปี 2527 เวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 7 ในปี 2538 ลาว  และ พม่า เข้าเป็นสมาชิกพร้อมกันเมื่อปี 2540 และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุดเมื่อปี 2542 ทำให้ในปัจจุบันอาเซียนมีสมาชิกรวมทั้งหมด 10 ประเทศ ปัจจุบันกฎบัตรอาเซียนได้มีการลงนามเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งทำให้อาเซียนมีสถานะคล้ายกับสหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้น   เขตการค้าเสรีอาเซียนได้เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2553 และกำลังก้าวสู่ความเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ใน ปี พ.ศ. 2558   โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม ความเข้าใจ อันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความ เจริญทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม การกินดีอยู่ดีบนพื้นฐานของความเสมอภาค และ ผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
เหลืออีกเพียง 2 ปีเศษ ประเทศไทย จะเปิดประตูเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เราจะเตรียมตัวให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้  ไม่ใช่แค่ให้ภาคอุตสาหกรรมที่ต้องปรับตัวตั้งรับเท่านั้น  ภาคการศึกษาเองก็ต้องปรับระบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับบริบทที่จะต้องเปลี่ยนแปลงในอนาคตทั้งในด้านทักษะวิชาชีพและภาษา เพราะเมื่อมีการเปิดตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้วทุกอย่างจะอยู่บนพื้นฐานของการแข่งขัน   
อาจารย์บุญยิ่ง  ประทุม   กล่าวว่า  การแข่งขันทั้งทางด้านเศรษฐกิจ  สังคม การเมือง การศึกษาและวัฒนธรรมในภูมิภาคอาเซียน  ส่งผลกระทบทางด้านการศึกษาของไทย  จึงควรมีการปรับตัวและการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆของการศึกษาเพื่อที่จะเข้าสู่อาเซียน ดังต่อไปนี้ คือ
การปรับตัวและการเตรียมความพร้อมของรัฐบาลในเชิง คือ กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาควรมีนโยบาย และแผนยุทธศาสตร์ในการรองรับการเตรียมความพร้อมของอุดมศึกษาไทยในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งที่ผ่านมานโยบายที่รองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของรัฐบาลยังไม่มีความชัดเจนมากนักในการนำไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งควรมีนโยบายในการปรับตัวและการเตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแก่มหาวิทยาลัยในประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม
 การปรับตัวด้านการเตรียมความพร้อมของอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา คือ อาจารย์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่ต้องพัฒนาศักยภาพของตนเองทางด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษากลางในการสื่อสารในภูมิภาคอาเซียน
การปรับตัวด้านการเตรียมความพร้อมของนักศึกษา คือ นักศึกษานั้นหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเรียนรู้ปรับตัว และเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ในอนาคต เช่น นักศึกษาต้องมีความสนใจและตระหนักถึงผลที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการรวมตัวของประเทศต่างๆ สู่ประชาคมอาเซียนในส่วนของข้อดีและข้อเสียอย่างเข้าใจ การเกิดขึ้นของประชาคมอาเซียนซึ่งสังคมยุคใหม่จะสะท้อนความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมเพิ่มมากขึ้น การเรียนรู้ของนักศึกษายุคใหม่จึงจำเป็นต้องปรับทั้งกระบวนการเรียนรู้ ปรับทัศนคติที่จะต้องตระหนักถึงความเป็นชาติ การปรับกระบวนทัศน์การเรียนรู้ยุคใหม่ควรเป็นไปอย่างมีเป้าหมาย อย่างคนรู้เท่าทันสถานการณ์  การสร้างความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นที่ต่างวัฒนธรรมได้และเรียนรู้ประเทศเพื่อนบ้านทั้งในด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน  พร้อมกับสร้างโอกาสเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ต้องเพิ่มทักษะทางด้านภาษาอังกฤษให้มากขึ้นให้สามารถสื่อสารได้เป็นอย่างดี
ดังนั้น  การเรียนการสอนควรมีการปฏิรูปไม่ใช่ปฏิรูปแต่องค์กรเพราะการสอนให้เด็กคิดเป็นไม่ใช่เรื่องง่าย  ก่อนอื่นอาจารย์ต้องคิดเป็นก่อน ต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการเรียนการสอน  ไม่ควรแยกระหว่างอุดมศึกษากับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ถ้าหากว่าครูหรืออาจารย์มีความรู้หรือข้อมูลน้อยกว่าเด็กแล้วจะสอนเด็กได้อย่างไร  เพราะในปัจจุบันเด็กมีการใช้เทคโนโลยีและศึกษาข้อมูลได้ดีกว่าผู้ใหญ่มีความคล่องตัวมากกว่า ขณะที่อาจารย์ยังใช้เอกสารตำราเล่มเก่า แต่เด็กมีการค้นคว้าจากอินเตอร์เน็ตมาก่อนเรียบร้อยแล้ว
                     http://www.ceted.org/tutorceted
                     http://ประชาคมอาเซียน.net
                     http://www.kruthai.info/view.php?article_id=1600

3.อ่านบทความ ครูกับภาวะผู้นำ   ของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ แสดงความคิดเห็น
                จากการที่ได้อ่านบทความ ครูกับภาวะผู้นำ   ผศ.ดร.สมาน ฟูแสง คณะบดีคณะครุศาสตร์ ได้กล่าวถึงครูกับภาวะผู้นำว่า "การที่ครูมีความรู้ความสามารถและแสดงออกให้เห็นว่าเป็นผู้มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน   เป็นที่ยอมรับของเพื่อนครู นักเรียน(นักศึกษา) และผู้ปกครอง จนทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมให้เกิดในองค์กรได้"

                ดังนั้น จากบทความดังกล่าวจะแสดงให้เห็นว่า การที่จะเป็นครูที่ดีได้นั้นครูต้องมีความเป็นผู้นำที่ดีเสียก่อน เช่น  ครูจะต้องศรัทธาในวิชาชีพของตัวเอง    ไว้วางใจในตนเองและวีชาชีพของตน    สร้างแรงบันดาลใจในการที่จะเป็นผู้นำ   และยอมรับในความเป็นปัจเจกบุคคล  เป็นต้น ซึ่งจะนำไปสู่การกล้าแสดงออก  นอกจากนี้ครูควรมีความรู้ความสามารถที่ดี  และมีพฤติกรรมที่ดีในการที่จะให้นักเรียนเอาเป็นแบบอย่างได้   เช่น  หาหนังสือที่ติดอันดับขายที่ดีที่สุดมาอ่าน  อยู่กับปัจจุบัน  มีความทันสมัย   มีความรู้เกี่ยวกับเด็ก    เป็นแบบอย่างในการเป็นผู้นำที่จะทำให้เด็กกล้าแสดงออกในภาวะผู้นำ   เป็นต้น
                ที่มา: http://www.gotoknow.org/blogs/posts/315219

4.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหานักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า                 ในการเรียนรู้โดยใช้บล็อกฉันมีวิธีการเรียนรู้โดยการที่ เริ่มแรกศึกษาจากอาจารย์ผู้สอนก่อน เมื่อเริ่มที่จะรู้ว่าการทำบล็อกทำอย่างไร ก็ลงมือทำและฝึกทำไปเรื่อยๆจนเกิดการเรียนรู้   ถ้าหากจะเรียนรู้โดนใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอการที่จะเรียนรู้ก็จะมากขึ้นเพราะเทคโนโลยียังมีการพัฒนาต่อไปเรื่อย ทำให้เราสามารถเรียนรู้ได้มากขึ้น และความรู้ที่เราใส่ลงไปในบล็อกก็ยังคงอยู่ เมื่อถึงเวลาที่เราอยากทราบเราก็สามารถกลับมาดูได้อีก  ในการเรียนวิชานี้ฉันจึงอยากได้คะแนนที่ดี  และอยากได้  เกรด A  เพราะ
1. ฉันมีความพยายามในการเรียนวิชานี้เป็นอย่างมาก    เนื่องจากวิชานี้เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการในชั้นเรียน   ซึ่งต่อไปในอนาคตเราจะต้องไปเป็นครูจำเป็นจะต้องรู้เรื่องดังกล่าวอยู่แล้ว ดังนั้นฉันจึงพยายามหาความรู้ให้ได้มากที่สุด โดยการตั้งใจทำบล็อกและนำเนื้อหาใส่ลงไปในบล็อกตามกิจกรรมที่อาจารย์สั่ง   เผื่อต่อไปในอนาคตจะได้นำความรู้ที่ใส่ลงในบล็อกกลับมาดูได้อีกครั้ง
2. ฉันเข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาด 
3. ฉันทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน
4. ฉันทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น   โดยการค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต   และนำข้อมูลที่ได้มาประกอบความคิดเห็นของตัวเองจนได้คำตอบออกมาใส่ลงในบล็อก
5. สิ่งที่ฉันตอบมาเป็นความสัตย์จริง   เพราะฉันมีความตั้งใจในการทำงาน   ใช้ความคิดเห็นของตนเองประกอบกับข้อมูลที่หามาได้จากอินเตอร์เน็ตในการตอบคำถามตามกิจกรรมที่อาจารย์สั่ง   มาเรียนตรงตามเวลา   ไม่เคยขาดเรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น