1.บทความเรื่อง สอนแนะให้รู้จักคิดรูปแบบหนึ่งการจัดการเรียนกาสอนคณิตศาสตร์
ให้นักเรียนอ่านบทความแล้วดำเนินการดังนี้
1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
จากบทความเรื่อง สอนแนะให้รู้จักคิดรูปแบบหนึ่งการจัดการเรียนกาสอนคณิตศาสตร์ ได้นำทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับการสอนแนะให้รู้คิดของพีอาเจต์ บรูเนอร์ และอ๊อสชุเบล มาใช้เป็นแนวการในสอนของครู เพื่อที่จะให้ผู้เรียนมีทักษะในการให้เหตุผล มีทักษะในการเชื่อมโยง ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนสามารถฝึกคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์และสามารถให้เหตุผลประกอบในเนื้อหาที่เรียนได้ รวมทั้งจะทำให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาวิชาเข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง สามารถนำการเรียนรู้ในชั้นเรียนมาใช้กับชีวิตในประจำวัน โดยครูจะต้องเป็นผู้นำเสนอปัญหา ช่วยแนะให้นักเรียนมีความเข้าใจในปัญหา เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแก้ปัญหาและร่วมกันอภิปรายคำตอบ จึงจะทำให้ผู้เรียนสารมารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ได้ ครูจึงมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการจัดการสอนให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
จากความรู้ที่ได้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยการนำแนวคิดและทฤษฎีจากบทความดังกล่าวข้างต้นมาใช้ในการสอนโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งครูผู้สอนจะต้องกำหนดปัญหา ให้ผู้เรียนร่วมกันแก้ปัญหา และร่วมกันอภิปราย จึงจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจมากขึ้น นอกจากนี้ครูผู้สอนยังสามารถนำสื่อและเทคโนโลยีต่างๆมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ เพื่อที่จะทำให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจมากขึ้น
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
ในการจัดการสอนผู้สอนจะต้องเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการกำหนดปัญหาให้นักเรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ให้เข้ากับชีวิตจริงได้ รวมทั้งนำเครื่องมือที่ทันสมัยมาใช้การสอนเพื่อที่จะให้ผู้เรียนมีความรู้มากขึ้นและก้าวทันโลกทันเหตุการณ์ต่างๆ
2.บทความเรื่อง ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของดร.สุเมธ ตันติเวชกุล วารสารทักษิณ
2.บทความเรื่อง ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของดร.สุเมธ ตันติเวชกุล วารสารทักษิณ
ให้นักเรียนอ่านบทความแล้วดำเนินการดังนี้
1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
จากบทความเรื่อง ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของดร.สุเมธ ตันติเวชกุล วารสารทักษิณ ได้กล่าวว่า ท่านทรงเป็น “ครูของแผ่นดิน” เพราะตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาพระองค์ได้สอนให้ประชาชนคนไทยรู้จักและเข้าใจ ดิน น้ำ ลม ไฟ สอนให้รู้จักชีวิต สอนให้รู้จักใช้พฤติกรรมในการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น รู้จักแบ่งปัน มีน้ำใจ และเข้าใจผู้อื่น พระองค์สอนในเรื่องของการดำรงชีวิต การทำมาหากินของคนไทย โดยส่วนใหญ่คนไทยจะประกอบอาชีพเกษตรกร พระองค์ก็ได้คิด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขึ้นมา ซึ่งเป็นที่ยอมรับของคนทั่วโลก จากแนวคิดของพระองค์ทำให้คนไทยอยู่อย่างพอเพียงรู้จักนำทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และยังมีโครงการต่างๆอีกมากมายที่คิดขึ้นเพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของคนไทย นอกจากนี้พระองค์ยังสอนเกี่ยวกับเรื่องของการศึกษา โดยมุ่งเน้นให้เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษา แต่การที่เด็กจะได้รับความรู้ที่ดี ครูจะต้องมีความรู้ที่ดีและมากพอที่จะถ่ายทอดให้ผู้เรียน ครูจะจึงต้องศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลา จึงจะทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาและสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ เช่นเดียวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงเป็นครูของแผ่นดิน ซึ่งตัวอย่างที่ดีของประชาชนตลอดมา ประชาชนคนทุกจึงรักพระองค์
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
จากความรู้ที่ได้ดิฉันจะนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยการที่จะเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียน ทั้งในเรื่องของการศึกษาหาความรู้ ที่ได้จากชีวิตจริง นำมาสอนให้นักเรียนรู้จักคิด รู้จักวางแผน และนำความรู้ที่ได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น และจะสอนให้นักเรียนรู้จักประหยัด อดออม ประกอบอาชีพที่สุจริต และ นำทรัพยากรที่มีในประเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยการนำเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้ เป็นสื่อในการเรียนการสอน นอกจากนี้ดิฉันจะจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนได้เรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนเพื่อพัฒนาความรู้ของผู้เรียนให้กว้างไกลและไม่น่าเบื่อ
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
ในการออกแบบการเรียนการสอนสามารถนำแนวคิดที่ได้จากเรื่องคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปใช้ โดยการที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ให้ผู้เรียนได้ลองผิด ลองถูกด้วยตนเองในการค้นคว้าหาความรู้ที่จะใช้ในการเรียน เพื่อที่จะฝึกให้ผู้เรียนเป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียนรู้ รู้จักคิดวางแผนในการทำงาน รู้จักประหยัดอดออม นำสิ่งที่มีอยู่รอบตัวมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ดังเช่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว