วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 1

                             ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
 
ความหมายของการบริหารการศึกษา
                     การบริหาร  หมายถึง    การทำงานของคณะบุคคล  ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป  เพื่อจุดประสงค์อย่างเดียงกัน  โดยการใช้ศาสตร์และศิลปะนำทรัพยากรการบริหารมาประกอบการตามกระบวนการบริหารให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ      
            การศึกษา   หมายถึง    การจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมแก่ผู้เรียน   เพื่อความเจริญงอกงามทั้ง  ร่างกาย  อารมณ์   สังคม  และสติปัญญา  
            การบริหารการศึกษา   หมายถึง    กิจกรรมต่างๆที่บุคคลหลายคนร่วมมือกันดำเนินการ  เพื่อพัฒนาเด็ก   เยาวชน  และประชาชน    ให้มีความรู้   ความสามารถ   มีคุณธรรม  จริยธรรม  เพื่อที่จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข  

ความแตกต่างของการบริหารการศึกษากับการบริหารอื่นๆ โดยวิเคราะห์จากทฤษฎี 4 Ps

1. Purpose (ความมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์)   การบริหารราชการแผ่นดินมีความมุ่งหมาย
เพื่อให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข     การบริหารธุรกิจมีความมุ่งหมายเพื่อต้องการกำไรเป็นตัวเงิน    แต่การ
บริหารการศึกษามีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ไม่หวังผลกำไรเป็นตัวเงิน
2. People (บุคคล)
2.1 ผู้ให้บริการ   บุคคลทีเป็นผู้ให้บริการในการบริหารการศึกษา คือ ครู อาจารย์
ผู้อำนวยการโรงเรียน อธิการบดี ตลอดจนผู้บริหารการศึกษาต้องเป็นบุคคลที่มีคุณภาพ  ซึงเป็นบุคคลที่แตกต่างไปจากผู้บริหารหรือบุคคลทีเป็นผู้ให้บริการในการบริหารราชการแผ่นดินและการบริหารธุรกิจ
2.2 ผู้รับบริการ   บุคคลที่เป็นผู้รับบริการในการบริหารการศึกษา   ส่วนมากเป็นผู้เยาว์ หรือเด็กที่ต้องพัฒนาให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพต่อไป   แต่บุคคลที่เป็นผู้รับบริการในการบริหารราชการแผ่นดิน และ การบริหารธุรกิจ ส่วนมากเป็นบุคคลทีบรรลุนิติภาวะหรือเป็นผู้ใหญ่แล้ว
3. Process (กรรมวิธีในการดำเนินงาน)     การบริหารการศึกษามีกรรมวิธีทีละเอียดอ่อน มีกรรมวิธีในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพทีหลากหลาย และแตกต่างกับกรรมวิธีของการบริหารราชการแผ่นดิน และการบริหารธุรกิจอย่างสินเชิง นอกจากนันการรบริหารราชการแผ่นดินและการบริหารธุรกิจจะนำกรรมวิธีทางการบริหารการศึกษาไปใช้ไม่ได้อีกด้วย
4. Product (ผลผลิต)   ผลผลิตทางการบริหารการศึกษา คือได้คนทีมีคุณภาพซึงเป็นนามธรรม    แต่ผลผลิตทาง   การบริหารราชการแผ่นดินและการบริหารธุรกิจเป็นรูปธรรมที่มองเห็นได้ง่าย

ภารกิจทางการบริหารการศึกษา หรือ งานบริหารการศึกษา
ภารกิจในการบริหารการศึกษา หรืองานบริหารการศึกษา โดยทัวไปจำแนกออกเป็น 5 ประเภท คือ
1. การบริหารงานวิชาการ    เป็นการดำเนินงานทีเกียวกับการเรียนการสอน ซึงครอบคลุมเกียวกับการนำหลักสูตรไปใช้การทำแผนการสอน   การปรับปรุงการเรียนการสอน    การใช้สือการสอนการประเมินผลการวัดผลและการนิเทศการสอน
2. การบริหารงานธุรการ   เป็นการดำเนินงานทีเกียวกับงานการเงิน วัสดุครุภัณฑ์ อาคารสถานที งานสารบรรณ งานรักษาพยาบาล และงานบริการต่างๆ
3. การบริหารงานบุคคล   เป็นการดำเนินงานทีเกียวกับบุคคล เริมตังแต่การสรรหาบุคคลมาทำงานหรือมาเป็นครู การจัดบุคคลเข้าทำงาน การบำรุงรักษาและการสร้างเสริมกำลังใจในการทำงาน การพัฒนาบุคคล และการจัดบุคคลให้พ้นจากงาน
4. การบริหารกิจการนักเรียน   เป็นการดำเนินงานทีเกียวกับนักเรียน เช่น การปฐมนิเทศนักเรียน การปกครองนักเรียน   การจัดบริการแนะแนว   การบริการเกี่ยวกับสุขภาพนักเรียน   การจัดกิจกรรม   และการบริการต่างๆ
5. การบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน   เป็นการบิหารงานทีเกียวกับความสัมพันธ์กับชุมชน เช่น การสอนให้นักเรียนนำความรู้ทีเรียนไปใช้ทีบ้านทีชุมชน และเผยแพร่แก่คนรอบข้างคนในชุมชนด้วย

งานวิจัยเกียวกับงานการบริหารการศึกษาทั 5 ประเภท
1.การวิจัยเรื่องปัญหาการบริหารงานในโรงเรียนโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา ขั้นพืนฐานทีรับนักเรียนชาวเขา   สังกัดสำนักการประถมศึกษาจังหวัด :  การศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดน่าน
2.การวิจัยเรือง งานบริหารการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตศึกษาทั 12 เขต และกรุงเทพมหานคร
3.การวิจัยเรือง การใช้เวลาในการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตศึกษา 11”
4.การวิจัยเรือง งานบริหารการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษากระทรวงศึกษาธิการ ในภาคใต้
5.การวิจัยเรือง การปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา





        
                             

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น